ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่งค่ะ

ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่งค่ะ
โรงเรียนต้นแบบในฝันปี ๒๕๕๐.... โรงเรียนดีใกล้บ้าน .... อักษรย่อ ต.อ.พ.ด.

เวลา

ฟังท่าน ว.วชิรเมธี

ศึกษาดูงานโรงเรียนราชวินิตบางเขน

ครูอารีย์ บุญจันทร์

รูปภาพของฉัน
ครูชำนาญการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง จังหวัดราชบุรี

ครูอารีย์ บุญจันทร์

ครูอารีย์  บุญจันทร์
ธรรมะน่าสนใจ

จำนวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

เป็นคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูก


 
เคยถามเพื่อนๆที่เป็นคุณครูว่ารู้สึกอึดอัดกับภาษาที่ใช้เขียนเพื่อการสื่อสารตลอดจนเขียนเพื่อใช้แทนคำพูดโดยเฉพาะภาษาที่วัยรุ่นใช้เขียนพูดคุยกันในอินเตอร์เน็ตบ้างหรือไม่หลายคนบอกว่ามีอารมณ์นั้นคืออึดอัดกับการใช้การออกเสียงที่ผิดๆรวมทั้งการใช้ภาษาในการส่งsmsหากเราจะอ้างว่าเป็นภาษาวัยรุ่นแต่ที่เห็นๆไม่ได้สร้างคำใหม่ไม่ใช่พัฒนาการทางภาษาแต่เป็นการออกเสียงผิดหากใช้บ่อยๆอาจเกิดความคุ้นเคยและใช้เป็นประจำซึ่งเวลาตรวจงานก็เป็นเช่นนั้นจริงๆเรื่องนี้น่ากลัวนะคะ  วันนี้เราลองมาทบทวนเรื่องเสียงในภาษาไทยกันนะคะ
เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด
 
          เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
 
          ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น
- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
- สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
 
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และจะได้จำง่าย เราจะจับเอาสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมด มาเขียนในรูปของตารางได้ดังต่อไปนี้
 
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
สระเดี่ยว (๑๘ เสียง)
อะ
อิ
อึ
อุ
เอะ
แอะ
โอะ
เอาะ
เออะ
อา
อี
อื
อู
เอ
แอ
โอ
ออ
เออ
สระประสม (๖ เสียง)
เอียะ (อิ+อะ)
เอือะ (อึ+อะ)
อัวะ (อุ+อะ)
เอีย (อี+อา)
เอือ (อื+อา)
อัว (อู+อา)
 
          จากการที่สระเดี่ยวมี ๑๘ เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก ๖ เสียง ก็จะพบว่ามีแค่เพียง ๒๖ เสียง ทั้งที่ตอนเรียนมาคุณครูสอนว่าเสียงสระ มีทั้งหมด ๓๒ เสียง... แล้วเสียงสระหายไปไหนอีก ๘ เสียง
          คำตอบก็คือ... นอกจากเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ ๘ รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”
          สระเกินทั้ง ๘ รูปนี้ เรานำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียงพยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ
อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า)
ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน)
ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ)
ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี)
ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ)
ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี)
 
          ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้
 
พยัญชนะ ๒๑ เสียง
พยัญชนะ ๔๔ รูป
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
๑๑.
๑๒.
๑๓.
๑๔.
๑๕.
๑๖.
๑๗.
๑๘.
๑๙.
๒๐.
๒๑.
ข ฃ ค ฅ ฆ
ช ฌ ฉ
ซ ศ ษ ส
ด ฎ
ต ฏ
ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
น ณ
พ ภ ผ
ฟ ฝ
ย ญ
ล ฬ
ฮ ห

           ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังต่อไปนี้
พยางค์ในภาษาไทย
          พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา ๒ ครั้ง เรียกว่า ๒ พยางค์ เช่น
ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน ๔ พยางค์
สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน ๒ พยางค์
          องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย
- เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.
- เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)
- เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)
- เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน
 
มาตราตัวสะกด
          เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง แต่ทั้ง ๒๑ เสียงนี้ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ หรือเป็นตัวสะกด ได้เพียง ๘ เสียง เท่านั้น ซึ่งเราเรียกพยัญชนะท้ายพยางค์ว่า “มาตราตัวสะกด” แบ่งเป็น
๑. แม่ ก กา คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ เช่น แม่ ใคร มา
๒. แม่ กก คือ พยางค์ที่มีเสียง ก ท้ายพยางค์ เช่น ทุกข์ สุข มรรค
๓. แม่ กง คือ พยางค์ที่มีเสียง ง ท้ายพยางค์ เช่น องค์ ปรางค์ ทอง
๔. แม่ กด คือ พยางค์ที่มีเสียง ด ท้ายพยางค์ เช่น อาทิตย์ สิทธิ์ ครุฑ
๕. แม่ กน คือ พยางค์ที่มีเสียง น ท้ายพยางค์ เช่น สถาน การ บริเวณ
๖. แม่ กบ คือ พยางค์ที่มีเสียง บ ท้ายพยางค์ เช่น กราบ กราฟ โลภ
๗. แม่ กม คือ พยางค์ที่มีเสียง ม ท้ายพยางค์ เช่น ขนม กลม อาศรม
๘. แม่ เกย คือ พยางค์ที่มีเสียง ย ท้ายพยางค์ เช่น กล้วย ปลาย ผู้ชาย
๙. แม่ เกอว คือ พยางค์ที่มีเสียง ว ท้ายพยางค์ เช่น แม้ว ไข่เจียว ปีนเกลียว

          เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงตัวสะกดอาจจะไม่ตรงกับ รูปของตัวสะกดที่เราออก เสียงก็ได้ค่ะ เช่น
- “ อาทิย์” เขียนด้วย “ ต” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กด”
- “ สมโภน์” เขียนด้วย “ ช” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กด”
- “ พรร” เขียนด้วย “ ค” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “ แม่กก”

 ฝึกทำแบบทดสอบ

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.
พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน